วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความเป็นมาของนกกรงหัวจุก




              จากการศึกษาข้อมูล และจากการสอบถามผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกที่ได้สัมผัสกับการเลี้ยงนกกรงหัวจุก (นกหัวจุก) มานับสิบๆปี ได้กล่าวว่า ในประเทศไทย ได้มีการเลี้ยงนกกรงหัวจุก (นกหัวจุก) ที่จับมาจากป่ามาเลี้ยงแล้วนับ 100 ปี แต่เลี้ยงกันตามบ้านไม่ได้แพร่หลาย เพิ่งจะมีการเลี้ยงอย่างจริงจังและมีการประกวดเมื่อปี 2519 หรือประมาณ 30 ปีมาแล้ว และเลี้ยงกันมากจนกลายเป็นวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมของไทย ปัจจุบันมีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกอยู่เป็นจำนวนมาก เลี้ยงกันตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ รวมไปถึงประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ในทางภาคใต้จะมีการจัดการแข่งขันการประกวดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ มีสิ่งของรางวัลมอบให้แก่ผู้ชนะการประกวด มีการจัดตั้งชมรมนกกรงหัวจุกในทุกระดับตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และระดับประเทศเช่นกัน และมีการประสานงานกันเป็นเครือข่าย ว่าจะมีการจัดประกวดแข่งขันกันที่ไหนบ้าง ทุกชมรมก็จะจัดส่งนกกรงหัวจุกเข้าประกวด ทำให้การประกวดสนุกสนานและคึกคักยิ่งขึ้น เพราะขณะที่กรรมการติดสิน เจ้าของนกก็จะส่งเสียงเชียร์นกของตนเองและพรรคพวก ดูแล้วคึกคักสนุกสนานและเป็นการคลายเครียดเป็นการพักผ่อนไปในตัว
            นกกรงหัวจุก (นกหัวจุก) เป็นนกอยู่ในวงศ์นกปรอดใน Family Pycnonotidae หรือวงศ์นกปรอด มีชื่อเป็นทางการว่า "นกปรอดหัวโขนเคราแดง" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus Jocosus ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปี 2535 จัดเป็นนกคุ้มครองประเภทที่ 3 แต่สามารถเพาะพันธุ์ได้ นกในวงศ์นกปรอดนี้ ส่วนใหญ่พบในประเทสแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มาก มีชื่อเรียกกันดังนี้
1.ชื่อเรียกเป็นทางการว่า "นกปรอดหัวโขนเคราแดง"
2.ชื่อเรียกในทางภาคเหนือว่า "นกพิชหลิว"3.ชื่อเรียกในทางภาคกลางว่า "นกปรอดหัวโขน" หรือ "นกปรอดหัวจุก"4.ชื่อเรียกในทางภาคใต้ว่า "นกกรงหัวจุก"5.ชื่อเรียกเป็นภาษามาลายูท้องถิ่นว่า "บุรงวอเบาะยาโม" ของชาวมุสลิม6.ชื่อเรียกที่เป็นทีรู้จักกันทุกภาคว่า "นกกรงหัวจุก"

วงศ์นกปรอดมีหลายชนิด

     บ้างก็เรียกว่า ปรอดหัวโขนแก้มแดง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Red whiskered Bulbul ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus Jocosus ได้ชื่อตามลักษณะของตัวนกเอง เป็นต้นว่า หัวโขน หมายถึง บนหัวมีขนยาวเป็นจุก เหมือนการสวมหัวโขนเอาไว้ ส่วนที่ว่าเคราแดงไม่น่าจะถูกต้อง จริงๆแล้วส่วนที่เป็นสีแดงจะอยู่ใต้ดวงตา นิยมเรียกว่า หูแดง หรือ แก้มแดง นกชนิดนี้มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นอยู่มากกมาย เช่น ภาคใต้ เรียกว่า นกกรงหัวจุก ภาคเหนือเรียกว่า นกปริ๊ดจะหลิว หรือพิชหลิว ส่วนภาคกลางเรียกว่า นกปรอดหัวจุกหรือนกหรอดหัวโขน เป็นนกที่น่าดู ใครๆก็ชอบ อาศัยอยู่ตามป่าไร่
     บ้างก็เรียกนกปรอดหัวโขนก้นเหลือง มีชื่อภาษากังกฤษว่า Brown-breasted Bulbul ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus xanthorrhous มีแถบสีน้ำตาลที่อก ซึ่งตัดกับสีขาวของลำคอ อกส่วนล่างและท้องออกขาว ใต้หางสีเหลือง จุกสั้นสีดำ ช่องว่างระหว่างตากับจะงอยปากและหนวดสีดำแกมสีน้ำตาล ชอบอาศัยอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้
     นกปรอดก้นแดงหรือนกปรอดคางแพะ เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า Sooty-headed Bulbul มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus aurigaster จุกสั้นสีดำ หน้ากากสีดำตัดแก้ม แก้มสีขาวเทา ส่วนบนสีน้ำตาลเทา มีแถบขาวบนขนหางด้านบน หลายหางสีขาว ด้านล่างสีขาวเทา ขนใต้หางอาจมีสีแดงหรือสีเหลือง อาศัยตามสวน ในที่เพาะปลูกและป่าโปร่ง
     นกปรอดหน้านวล หรือนกปรอดหน้านวล ก้นเหลือง ขอบตาขาว มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Yellow-vented Bulbul มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus goiavier ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ด้านบนของตัวมีสีน้ำตาลอมเขียว ด้านใต้ท้องมีสีขาวเจือน้ำตาลอ่อนเล็กน้อย ระหว่างตาและโคนปากมีสีดำ เหนือตามีแถบกว้างสีขาวคล้ายคิ้ว ขนคลุมใต้โคนหางมีสีเหลือง อยู่ตามแหล่งเพาะปลูก ตามสวนมะพร้าวที่อยู่ติดทะเล
     มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Streak-eared Bulbul มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus Blanfordi คล้ายกัยนกปรอดสีไพรใหญ่ แต่มีสีซีดกว่า แบะมีสีน้ำตาลเจือมากกว่า ขนคลุมใต้โคนหางเป็นสีเหลืองมากกว่าปรอดสีไพรใหญ่ และขนคลุมหูมีลายขาวเป็นแถบๆ อยู่ตามพื้นทีเพาะปลูก ตามสวนพบทั่วไปในที่ลุ่ม
     มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Black-headed Bulbul มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus Atriceps ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ถัดเข้ามามีแถบเล็กๆ สีน้ำตาล นัยน์ตาสีฟ้า มีอยู่ในทุกภาคของประเทศไทย ชอบอยู่ตามชายป่า
    ชื่อสามัญ Black-crested Bulbul ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus melanicterus

          สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม 2546

1. นกปรอดหัวโขนเคราแดง
2. นกปรอดก้นเหลือง
3. นกปรอดก้นแดง
4. นกปรอดหน้านวลก้นเหลือง
5. นกปรอดสวน
6. นกปรอดทอง
7. นกปรอดเหลืองหัวจุก
ที่มา :  คู่มือนกกรงหัวจุก โดย เอกชัย พฤกษ์อำไพ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น