วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อาหารของนกกรงหัวจุก




นกกรงหัวจุกชอบกินผลไม้และพืชผักเป็นหลัก นอกจากนี้ยังชอบกินหนอน ตั๊กแตน และแมลงอื่นๆ ซึ่งเป็นอาหารโปรตีน เพื่อทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ถ้าจะให้อาหารเม็ด ต้องเป็นอาหารลูกไก่ก็ยิ่งเจริญเติบโตดี ซึ่งอาหารต่างๆ มีดังนี้
อาหารที่เป็นผลไม้
ผลไม้ที่นกกรงหัวจุกกินจะเป็นสมุนไพรไปในตัว สามารถรักษาหรือป้องกันโรคต่างๆ ได้ดี มีดังนี้
"กล้วยน้ำว้าสุก" เป็นยาแก้ท้องผูก ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายดี ข้อควรระวังให้กินนานๆ เสียงนกจะร้องเพี้ยน เพราะเนื้อกล้วยจะเหนียวติดปากนก นกก็จะอ้าปากร้องได้ไม่เต็มที่"มะละกอสุก" เพราะเป็นยาระบายท้อง แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงสายตาและขับพยาธิเส้นด้าย"ส้มเขียวหวาน" มีวิตามินซี เป็นยาแก้ไขแก้ปวด แก้เจ็บคอและไอขับเสมหะและแก้อาเจียน"ฝรั่งสุก" เป็นยาแก้ท้องร่วง เป็นบิด และบำรุงหัวใจ"มะม่วงสุก" เป็นยาแก้ท้องอืด อาหารไม่ย่อยและบำรุงกระเพาะอาหารให้แข็งแรง"พุทราสุก" เป็นยาแก้อ่อนเพลีย ผอมแห้งแรงน้อยนอกจากนี้ ยังมีผลไม้ป่าอีกหลายชนิดที่นกกรงหัวจุกกิน ได้แก่ ลูกหว้า ลูกไทรพืชผักที่นกกรงหัวจุกกิน จะเป็นพืนสมุนไพรไปในตัว สามารถรักษาหรือป้อนกันโรคต่างๆ ได้ดี มีดังนี้"ลูกตำลึง" เป็นยาแก้ระบายท้อง"มะเขือเทศ" เป็นยาแก้นกเบื่ออาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงเลือด และกระตุ้นกล้ามเนื้อ"แตงกวา" เป็นยาแก้ร้อนใน บำรุงปอด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้ความจำดี เมล็ดขับพยาธิ ข้อควรระวัง ก่อนให้นกกิน ต้องนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน เพราะจะมีสารเคมีตกค้างมากับแตงกวา ถ้าให้นกกินเลยโดยไม่ล้างหรือแช่น้ำนกอาจจะตายได้"พริกขี้หนูแดง" เป็นยาเจริญอาหาร บำรุงกำลัง และเป็นยาแก้ท้องเสีย แก้ปอดบวม และทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี โดยนำมาล้างน้ำแล้วหั่นเป็นชิ้นๆ นำไปผสมกับน้ำผึ้ง ให้นกกรงหัวจุกกิน จะทำให้นกเสียงดีแบบเดียวกับที่เลี้ยงนกขุนทองแล้วให้กินพริกขี้หนู นกขุนทองเสียงจะดีและพูดเก่ง"บวบ" เป็นยาระบายท้อง แก้ไขและแก้ร้อนใสได้แก่ หนอนนก ไข่มดแดง ปลวก จิ้งหรีด ตั๊กแตน แมลงเม่า อาหารพวกนี้จะเป็นอาหารโปรตีน ทำให้จกเจริญเติบโตได้เร็วเป็นอาหารสำหรับให้ลูกไก่กิน ควรเป็นอาหารเสริมให้นกกรงหัวจุกกินเป็นบางครั้งบางคราว นกกรงหัวจุกเป็นนกที่กินอาหารได้ตลอดวัน และอุจจาระไปเรื่อยๆ ดังนั้น การให้อาหารก็ต้องคอยดูว่าอาหารที่ให้หมดหรือยัง ถ้าหมดแล้วก็ให้ใหม่ ผู้เลี้ยงควรเปลี่ยนอาหารสลับกันไป เป็นผลไม้บ้าง พืชผักบ้าง หนอนนกบ้าง และอาหารเม็ดบ้างปกติในธรรมชาติ นกกรงหัวจุกก็จะกินใบพืช เมื่อรู้ว่าตัวเองไม่สบาย ผู้เลี้ยงควรหามาให้นกกินบ้าง ได้แก่1.ใบมะขาม เป็นยาแก้หวัด คัดจมูก2.ใบผักหวาน เป็นยาแก้ไข3.ใบตำลึง เป็นยาแก้ร้อนใสแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ เมล็ดจำพวกข้าว พวกนี้จะมีปริมาณของแป้งสูง ซึ่งจะทำให้พลังงานแก่นก อีกกลุ่มหนึ่งได้แก่ เมล็ดที่มีส่วนประกอบของน้ำมันผสมอยู่ เช่น เมล็ดทานตะวัน เมล็ดเกาลัด และพวกถั่ว เป็นต้นเป็นอาหารที่ผู้เลี้ยงใช้เสริมเข้าไปในอาหารหลัก เพื่อให้นกมีความแข็งแรงสมบูรณ์ คึกคักตลอดเวลา หรือแม้แต่รักษาอาการป่วยก็ได้ผลดี  ปกติจะให้อาการเสริมแก่นักตัวพิเศษที่เลี้ยงไว้แข่งขัน เช่น- ข้าวสวยสุกผสมแกงส้มภาคใต้ ผู้เลี้ยงนกในท้องถิ่นภาคใต้นิยมใช้เป็นอาหารเสริมให้นกกิน สรรพคุณนั้นกล่าวกันว่า เพื่อทำให้นกสมบูรณ์แข็งแรง คึกคักเร็วขึ้น ไม่เจ็บป่วย อาจเป็นเพราะเครื่องแกงส้มมีส่วนประกอบของสมุนไพรหลายชนิดนั่นเอง- พริกสดแช่น้ำผึ้ง หั่นพริกขี้หนูสุกสดๆ ขนาดนกกินได้พอดีแล้วแช่ไว้ในน้ำผึ้ง ถ้าจะให้ดีควรเป็นน้ำผึ้งเดือนห้าที่เตรียมไว้ให้นกกิน ทำให้ลำคอนกโปร่งโล่ง ขับถ่ายสะดวก เป็นการทำให้น้ำเสียงใสกังวานไม่แตกพร่า- อาหารสูตรที่ผู้เลี้ยงนกส่วนใหญ่ใช้อยู่อีกสูตรหนึ่ง คือเอาเฉพาะไข่แดงของไข่ต้มไปตากแห้ง นำไปผสมากับถั่วลิสงป่น ถั่วเหลือง แคลเซี่ยมสำหรับสัตว์ปีก และนมผงที่ใช้เลี้ยงเด้กคลุกเคล้าให้เข้ากันดี นำไปตากแดดให้แห้งสนิท นำไปให้นกที่เพิ่งได้มาใหม่กิน เพื่อให้นกมีความแข็งแรงสมบูรณ์ คึกคัก ขนสวยเป็นมันวาว- กระดองปลาหมึก จำเป็นอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความเจริญเติบโตของกระดูก ขนและจะงอยปาก และใช้ในการสร้างไข่- ทรายนก ต้องการพวกเม็ดทราย เพื่อช่วยบดและย่อยอาหาร- แท่งไอโอดีน ช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานเป็นปกติ- วิตามิน จะให้โดยผสมในน้ำหรือผสมอาหาร แต่ทางที่ดีควรดูว่าอาหารที่ให้นั้นขาดอะไรแล้วจึงให้จะดีกว่าเมล็ดพืชผสมจะมีความหลากหลายของสารอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ที่จะให้แก่นก ซึ่งจะมีส่วนผสมของถั่ว ผักและผลไม้แห้ง ถ้าเราเลี้ยงด้วยอาหารผสม ควรเสริมด้วยผักและผลไม้ให้นกด้วยมีสารอาหารที่สำคัญ เช่น วิตามิน แคลเซี่ยม และธาตุเหล็ก เช่น ผักกาด ผักขม แครอท ข้าวโพด แขวนผักไว้ในกรงจะช่วยกระตุ้นให้นกกิน ไม่ว่าจะใช้วิธีแขวนหรือวางไว้ ควรเลี่ยงตำแหน่งที่ขี้นกจะตกใส่ ควรเปลี่ยนผักใหม่ทุก 3-4 ชั่วโมง เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียแม้ว่าผักจะมีสารอาหารที่สำคัญสำหรับนก แต่การให้ผลไม้ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังมีความหลากหลาย หาได้ง่ายตามฤดูกาล ผลไม้ทั่วไปที่ให้นกได้แก่ กล้วย แอปเปิ้ล องุ่น มะม่วง แตงกวา ฯลฯ ไม่ว่าจะใช้วิธีแขวนหรือวางไว้ในภาชนะก็ควาเลี่ยงตำแหน่งที่ขี้นกจะตกใส่ ทั้งผลไม้และผักควรให้ในปริมาณที่พอดี เพราะถ้าให้มากไปอาจทำให้ท้องร่วงได้ อัตราส่วนที่เหมาะสมสำหรับผักและผลไม้คือ 75% และ 25% ตามลำดับการเสริมด้วยวิตามินและแร่ธาตุไม่ค่อยจำเป็นเท่าใดนัก ในกรณีที่คุณเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดหรืออาหารผสม ถ้าหากต้องการจะเสริมควรปรึกษาสัตวแพทย์ การเสริมควรเสริมในอาหารชนิดอ่อน ไม่ควรเสริมลงไปในน้ำกิน เพราะว่าเชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีในน้ำ อาจเป็นอันตรายต่อตัวนกได้ แต่ถ้าจะใช้วิธีใส่วิตามินลบไปในน้ำ ก็ควรเปลี่ยนน้ำให้นกทุกวัน เพื่อป้อนกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย นกที่ชอบถอนขนตัวเองแสดงว่านกได้รับวิตามินไม่พอเพียงควรจัดหาลิ้นทะเลหรือก้อนเกลือแร่ให้แก่นก โดยแขวนหรือวางไว้ในภาชนะก็ได้น้ำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนก นอกจากจะใช้ดื่มแล้วยังใช้อาบด้วย ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนน้ำอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อแบคทีเรียเป็นอาหารที่ดีสำหรับนกทุกพันธุ์รวมถึงนกป่าด้วย ในธรรมชาตินกจะเกาะแทะกินสเปรย์มิลเล็ท เมื่อเราใช้เลี้ยงนกจึงควรแขวนสเปรย์มิลเล็ทไว้กับกรง เพื่อกระตุ้นให้นกกิน สเปรย์มิลเล็ท ยังสามารถใช้ฝึกนกให้เชื่องได้อีกด้วย โดยการถือสเปรย์มิลเล็ทไว้ในมือให้นกกินทุกวัน ในตอนแรกเราไม่ควรเข้าไปใกล้มากนักควรให้เป็นเวลา อย่าให้พร่ำเพรื่อหรือหลายอย่างพร้อมกัน เพราะถ้านกกินอิ่มมากเกินไปจะทำให้ท้องเสีย ซึ่งจะเกิดโทษได้ ควรให้นกกินอาหารหลายชนิดจนเกิดความเคยชิน เพราะถ้าไม่มีกล้วย เราจะเอาถั่วลิสงหรือแม้แต่ไข่ต้มคลุกข้าว นกก็จะสามารถกินได้ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวควรให้กินพอประมาณ เพราะถ้าให้กินพร่ำเพรื่อจะทำให้นกท้องเสียได้น้ำสำหรับนกกรงหัวจุก ควรเป็นน้ำที่สะอาด เมื่อดูแล้วน้ำในถ้วยที่ให้นกกรงหัวจุกใกล้หมด ก็ต้องเติมน้ำให้ใหม่ เพราะนกกรงหัวจุกชอบร้องทั้งวัน ก็เหมือนคนที่พูดมากๆ ต้องหิวน้ำเป็นธรรมดา อย่าให้นกกรงหัวจุกขาดน้ำ ถ้านกขาดน้ำนกกรงหัวจุกจะมีลักษณะขนตั้งชัน และนกกรงหัวจุกก็จะตายได้ ปกตินกกรงหัวจุกจะขาดน้ำได้ประมาณ 2-3 วัน ดังนั้น ผู้เลี้ยงที่จะไปไหนหลายๆ วัน ต้องฝากให้คนอื่นช่วยดูแลให้          สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม 2546


อาหารที่เป็นพืชผัก
อาหารที่เป็นหนอนและแมลง
อาหารเม็ด
ใบพืช
เมล็ดธัญพืช
อาหารพิเศษ
อาหารผสม
ผัก
ผลไม้
วิตามินและแร่ธาตุ
ลิ้นทะเลและเกลือแร่
น้ำ
Spray Millet
การให้อาหาร
การให้น้ำ
ที่มา :  คู่มือนกกรงหัวจุก โดย เอกชัย พฤกษ์อำไพ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี 

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยงนกกรงหัวจุก




         การเลี้ยงนกกรงหัวจุก ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบการเลี้ยง เพื่อให้นกกรงหัวจุกได้รับอาหาร น้ำ และความสะดวกสบายเมื่ออยู่ในกรง ซึ่งก็ประกอบด้วย
            "กรงของนกกรงหัวจุก" ซึ่งก็มีกรงรวมซึ่งเป็นกรงขนาดใหญ่ สำหรับพักนกที่จับมาขาย หรือเป็นกรงสำหรับให้นกบินออกกำลังกาย กรงเลี้ยงแบบธรรมดา กรงให้นกผลัดขน และกรงที่นำนำไปแข่ง           "ถ้วยใส่น้ำ" มีรูปทรงกลมแป้น แบบตุ่มน้ำขนาดเล็ก มีทั้งแบบธรรมดา แบบลวดลายเบญจรงค์ แบบถ้วยหินอ่อน แบบแก้วใสๆ           "ถ้วยใส่อาหาร" ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับถ้วยใส่น้ำ           "ที่รองถ้วยน้ำถ้วยอาหาร" มีหลายแบบ ได้แก่ แบบเป็นลวดทำเป็นวงกลม แบบที่เป็นแป้นไม้กลึง แบบที่ขาตั้งที่เป็นไม้กลึงหรือแบบพลาสติก           "ห่วงกลม" เป็นไม้กลึงให้เป็นรูปวงกลม น้ำไปติดที่ซี่ลูกกรงสำหรับให้นกกระโดดเกาะ โดยให้อยู่เหนือถ้วยน้ำและถ้วยอาหาร         "ตะขอแขวนผักผลไม้" มีลักษณะเหมือนตะขอแขวนเสื้อผ้า ตัวตะขอจะติดกับแป้น โดยตัวแป้นเป็นไม้ ตัวตะขอเป็นลวดแข็งหรือเหล็ก ตัวตะขออาจจะมี 1-2 ตะขอ แต่ส่วนใหญ่จะทำตะขอแขวนผักผลไม้มาเสียบไว้ สำหรับตะขอแขวนผักและผลไม้นี้จะนำไปติดในกรงนก 2 อันต่อ 1 กรง โดยให้ติดด้านตรงข้ามกัน ตะขออันหนึ่งจะแขวนกล้วย ตะขออีกอันหนึ่งแขวนมะละกอ เป็นต้น         "คอนเกาะ" สำหรับให้นกกระโดดไปเกาะคอนแล้วส่งเสียงร้อง ซึ่งจะเป็นไม้รูปร่างกลมแล้วแกะสลักเป็นลาย เพื่อให้นกเกาะแล้วไม่ลื่น มีขนาดกลมเท่าๆ นิ้วก้อย ถ้าเป็นกรงนกที่มีราคาแพงก็จะใช้งาช้าง หรือบางทีก็ใช้กิ่งไม้ รากไม้ที่มีลักษณะงอไปมา ทำเป็นคอนเกาะก็ได้ ดูแล้วสวยงามดี ซึ่งก็แบ่งคอนเกาะได้ ดังนี้1.คอนเกาะล่าง เป็นคอนที่มีขนาดยาว ตัวคอนเกาะล่างนี้จะตั้งอยู่ตรงกลางกรง โดยมีแกนไม้ยกตัวคอนขึ้นมา ตัวแกนไม้นี้จะติดกับไม้ด้านล่างที่เป็นโครงของกรง ถ้าเป็นกิ่งไม้หรือรากไม้ ก็จะนำไปติดกับไม้พื้นด้านล่างของกรงเลยและไม่ต้องทำคอนเกาะบน2.ตัวคอนเกาะบน จะมีขนาดสั้นกว่าคอนเกาะล่าง เป็นไม้กลมขนาดเท่านิ้วก้อย แกะสลักเป็นลวดลาย โดยจะนำไปติดข้างกรงขวางกับตัวคอนเกาะล่าง ให้สูงระดับเดียวกับห่วงกลม          "ผ้าคลุมกรงนก" ผ้าที่ใช้คลุมกรงนกหัวจุกจะนิยมใช้ผ้าแพร ผ้าที่เป็นลูกไม้ ผ้าจีน ผ้ายืด และผ้าอื่นๆ จะมีการออกแบบที่สวยงาม มีหลากหลายสีสัน ชายล่างผ้าคลุมกรงอาจจะทำเป็นลูกไม้ ผ้าคลุมกรงนกนี้แล้วแต่ผู้เลี้ยงจะชอบสีไหนแบบไหน การคลุมกรงนก เพื่อไม่ให้นกตกใจต่อสิ่งรอบข้างที่แปลกใหม่ กับสิ่งที่นกมองเห็นเวลานกไปซ้อมกับนกอื่น หรือเวลานำนกไปแข่งขัน ป้องกันไม่ให้ลมโกรกถูกตัวนก เพราะอาจจะทำให้นกป่วยได้ ในตอนกลางคืน ก็คลุมกรงให้นกนอน และคลุมเพื่อป้องกันกันไม่ให้ศัตรูมาทำร้ายได้            "ถาดรองขี้นก" จะใช้เป็นแผ่นพลาสติก โดยตัดให้เป็นรูปทรงเดียวกับพื้นกรงทางด้านล่าง แต่เล็กกว่าเล็กน้อย วางไว้ใต้กรงนก โดยมีลวดรองแผ่นพลาสติก เพื่อกันไม่ให้ถาดรองขี้นกตกลงมา            "หัวกรง" จะทำด้วยแก่นไม้ หรืองาช้างนำไปกลึงให้สวยงาม ถ้าเป็นหัวกรงที่เป็นพลาสติก ก็จะเป็นแบบสำเร็จรูป โดยทางโรงงานจะหล่อหัวกรงแล้วมาตกแต่งและขัดเงา ซึ่งจะมีขายตามร้านขายกรงนกและอุปกรณ์นกทั่วไป สำหรับกรงที่มีราคาแพง ก็จะใช้หัวกรงเป็นงาช้าง             "ตะขอแขวนกรง" ใช้โลหะเป็นเหล็ก หรือทองเหลือง ทำตะขอแขวนกรง มีทั้งการทำด้วยมือของช่างทำร้านทอง และแบบสำเร็จรูป โดยถ้าเป็นเหล็กก็จะไปชุบสแตนเลส หรือชุบเงินชุบทองวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำเป็นรูปมังกร ไก่ฟ้าพญาหงส์ หรือสิงห์ หรือเป็นตัวไอ้เท่งได้ทองของมโนราห์ หรือจะเป็นแบบธรรมดา มีทั้งลวดลาย และไม่มีลาดลายอะไร จากนั้นก็จะนำไปยึดกับหัวกรง  ถ้าเป็นแบบสำเร็จรูปก็จะมีขายตามร้านขายกรงและอุปกรณ์นกทั่วไป แต่ถ้าเป็นตะขอแขวนกรงที่ทำด้วยมือจะมีลวดลายละเอียดอ่อนสวยงาม และมีราคมแพง จากการไปพบช่างทำกรงนกที่จังหวัดปัตตานี ยังมีตะขอแขวนกรงนกที่ทำด้วยมือนี้ มีอายุถึง 30-50 ปี มีลวดลายสวยงามมาก และมีราคาแพง             "ตุ้มขากรง" ตุ้มที่ติดที่ขากรง ส่วนใหญ่จะใช้กับกรงที่นำเข้าประกวดแข่งขัน ซึ่งจะเป็นตุ้มที่ใช้ไม้กลึง เป็นตุ้มพลาสติก ตุ้มเป็นเหล็กชุบสแตนเลส มีขายตามร้านขายกรงนกและอุปกรณ์นกทั่วไป ถ้ากรงราคาแพงจะเป็นหินอ่อนหรืองาช้างกลึง สำหรับตุ้มขากรงนกกรงหัวจุกแบบธรรมดาก็จะใช้เสากรงเป็นขากรงนกอยู่ในตัว           "ขันสำหรับให้นกอาบน้ำในกรง" ให้ใช้เป็นขันอลูมิเนียมหรือขันพลาสติกก็ได้ มีขนาดไม่ใหญ่นักใส่เข้าไปใสกรงนก เพื่อให้นกอาบน้ำในเวลาบ่ายๆ
          สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม 2546

ที่มา :  คู่มือนกกรงหัวจุก โดย เอกชัย พฤกษ์อำไพ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี 

ลักษณะและพฤติกรรมที่ควรเลี้ยง


"การกระโดด" ปกตินกกรงหัวจุกจะมีลีลาการกระโดดด้วยท่วงท่าทีสง่างาม กระโดดเกาะคอนบ้าง ที่ห่วงกลมบ้าง ที่ซี่กรงบ้าง กระโดดไปกินน้ำ กินอาหาร เมื่อกระโดดมาจับที่คอนแล้วจะร้องเป็นเสียงเพลงแทบทุกครั้ง 
"การหมุนคอหรือบิดคอ"  นกกรงหัวจุกที่ดี เมื่อกระโดดไปมาตามที่ต่างๆ จะมีคอตั้งตามปกติ อาจจะหมุนคอไปดูสิ่งอื่นหรือได้ยินเสียงเรียกของผู้เลี้ยง
"นกชอบตีลังกา" นกกรงหัวจุกที่ดีจะมีการกระโดดไปมาตามปกติ
"หาง" มีหางยาวเหมาะสมกับลำตัว ขนหางซ้อนกันเป็นระเบียบและสวยงาม
"หัว" มีหัวใหญ่และหน้าใหญ่สมส่วนกับตัวนก
"ช่วงลำตัว" ควรมีลำตัวมีลักษณะรูปทรงเหมือนปลีกล้วย ขณะที่ปลีกล้วยยังเล็กอยู่
"น้ำเสียง" น้ำเสียงดีร้องได้เป็นเพลง
"ดวงตา" ต้องนูนและดูแจ่มใส
"จุก" จุกที่หัวต้องมีโคนจุกใหญ่และมีขนขึ้นเต็ม
"ขนอก" ขนที่หน้าอกต้องฟูเป็นปุยเหมือนสำลีในเวลานกกรงหัวจุกร้อง
"นกชอบจิกตัวเอง" นกกรงหัวจุกที่ดี ไม่ชอบจิกตัวเอง
ผู้ที่เลี้ยงนกกรงหัวจุก หรือซื้อมาเลี้ยงไว้แล้ว จะต้องคอยสังเกตุดูว่านกกรงหัวจุกของผู้เลี้ยงมีลักษณะและพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้นนี้หรือไม่ เมื่อดูแล้วเห็นว่า มีลักษณะและพฤติกรรมที่ไม่ดี ก็ควรปล่อยให้ไปอยู่ตามธรรมชาติ

ที่มา :  คู่มือนกกรงหัวจุก โดย เอกชัย พฤกษ์อำไพ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี 
          สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม 2546




ลักษณะภายนอกโดยทั่วไปของนกกรงหัวจุก


- บริเวณหัวมีขนยาวเป็นจุก ยาวรวบปลายแหลมชี้ขึ้นข้างบนหรือชี้ตรงไปข้างหน้าก็ได้
- ดวงตากลมใส- ขนใต้ปากล่างตลอดลำตัวจนถึงหน้าท้องมีสีขาวนวล- สีขนลำตัวด้านหลัง ปีกหาง มีสีน้ำตาลอ่อน (สีอิฐ) หรือสีดำ เป็นต้น- มีขนหางรวม 12 ซี่ หรือน้อยกว่า (หางสีดำปลายขาว 8 ซี่ ดำตลอด 4 ซี่)- ขนสีดำเป็นแถบกว้าง ทอดยาวลงมาจากด้านหลังของคอจนถึงหน้าอก เรียกว่า "หมึก" "สร้อยพระศอ" หรือ "สร้อยสังวาล"- ขนสีแดงเป็นกระจุกใต้ตา เรียนกว่า "หูแดง"- ขนสีแดงกระจุกใหญ่ปิดทับโคนหางด้านใน (บริเวณก้น) เรียกว่า "บัวแดง"
- ฐานจุกใหญ่ รวมปลายแหลมชี้ขึ้นบนโค้งไปขางหน้าเล็กน้อย 
- ดวงตากลมใสไม่หมอง
- นกที่เก่งแล้ว ขณะยืนร้องจะเหยียดขาจนสุดข้อเท้า ปลายหางสอดเข้าใต้ศอกที่เกาะ
- หมึกดำหรือสร้อยคำจะยาวกว่านกตัวเมีย บางตัวปลายหมึกทั้งสองข้างยาวเกือบติดกัน
- บัวแดงจะใหญ่ เต็ม สีแดงสด มองเห็นได้ชัดเจน
- ลีลากระโดดโลดเต้นสวยงาม ร้องเป็นเพลงยาวๆ มีจังหวะดี 5-7 พยางค์
- บริเวณหน้าอก หน้าท้อง มีขนอ่อนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป ในตัวเมียไม่ค่อยมี
- ถ้าจับดูจะพบขนบริเวณหัวปีกทั้งสองข้างมีสีแดงเล็กน้อย ซึ่งตัวเมียจะไม่มี
- ฐานจุกเล็ก ไม่เต็ม จุกรวบขึ้นข้างบน มักจะชี้ตรงหรือชี้ไปข้างหลัง
- หมึกดำไม่ชัดเจน
- บัวแดงจะเล็ก ไม่ฟู ไม่เต็มโคนหาง
- ลีลาไม่คึกคักเหมือนนกตัวผุ้ มักจะร้อง 1-3 พยางค์ (บางตัวร้อง 3-5 พยางค์ แต่พบได้น้อยมาก) ปกติจะร้อง ฟิต-เฟี่ยว วิด-เวี่ยว)
          สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม 2546

นกกรงหัวจุกตัวผู้
- ส่วนหัวและใบหน้าใหญ่ ขนคอขาวและฟูสวยงาม
นกกรงหัวจุกตัวเมีย
- หัวเล็ก หน้าเล็ก ขนคอจะเรียบ ไม่ฟู
นี่เป็นวิธีการดูนกตัวผุ้และนกตัวเมียจากลักษณะภายนอก ซึ่งเป็นความชำนาญเฉพาะบุคคล ผุ้ที่เลี้ยงนกนานๆ จะเก่งในเรื่องนี้ หากคุณให้ความสนใจและหมั่นศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างอยู่เสมอๆ ก็สามารถแยกแยะได้เองโดยไม่ยาก การดูลักษณะภายนอกของนกในช่วงวัยเจริญพันธุ์หรือนกหนุ่มจะทำได้ง่ายกว่าการดูนกในช่วงยังเป็นลูกนกหูดำหรือหูแดง

ที่มา :  คู่มือนกกรงหัวจุก โดย เอกชัย พฤกษ์อำไพ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี 


ความเป็นมาของนกกรงหัวจุก




              จากการศึกษาข้อมูล และจากการสอบถามผู้เลี้ยงนกกรงหัวจุกที่ได้สัมผัสกับการเลี้ยงนกกรงหัวจุก (นกหัวจุก) มานับสิบๆปี ได้กล่าวว่า ในประเทศไทย ได้มีการเลี้ยงนกกรงหัวจุก (นกหัวจุก) ที่จับมาจากป่ามาเลี้ยงแล้วนับ 100 ปี แต่เลี้ยงกันตามบ้านไม่ได้แพร่หลาย เพิ่งจะมีการเลี้ยงอย่างจริงจังและมีการประกวดเมื่อปี 2519 หรือประมาณ 30 ปีมาแล้ว และเลี้ยงกันมากจนกลายเป็นวิถีชีวิต ประเพณี และวัฒนธรรมของไทย ปัจจุบันมีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกอยู่เป็นจำนวนมาก เลี้ยงกันตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ รวมไปถึงประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ในทางภาคใต้จะมีการจัดการแข่งขันการประกวดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ มีสิ่งของรางวัลมอบให้แก่ผู้ชนะการประกวด มีการจัดตั้งชมรมนกกรงหัวจุกในทุกระดับตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และระดับประเทศเช่นกัน และมีการประสานงานกันเป็นเครือข่าย ว่าจะมีการจัดประกวดแข่งขันกันที่ไหนบ้าง ทุกชมรมก็จะจัดส่งนกกรงหัวจุกเข้าประกวด ทำให้การประกวดสนุกสนานและคึกคักยิ่งขึ้น เพราะขณะที่กรรมการติดสิน เจ้าของนกก็จะส่งเสียงเชียร์นกของตนเองและพรรคพวก ดูแล้วคึกคักสนุกสนานและเป็นการคลายเครียดเป็นการพักผ่อนไปในตัว
            นกกรงหัวจุก (นกหัวจุก) เป็นนกอยู่ในวงศ์นกปรอดใน Family Pycnonotidae หรือวงศ์นกปรอด มีชื่อเป็นทางการว่า "นกปรอดหัวโขนเคราแดง" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus Jocosus ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปี 2535 จัดเป็นนกคุ้มครองประเภทที่ 3 แต่สามารถเพาะพันธุ์ได้ นกในวงศ์นกปรอดนี้ ส่วนใหญ่พบในประเทสแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มาก มีชื่อเรียกกันดังนี้
1.ชื่อเรียกเป็นทางการว่า "นกปรอดหัวโขนเคราแดง"
2.ชื่อเรียกในทางภาคเหนือว่า "นกพิชหลิว"3.ชื่อเรียกในทางภาคกลางว่า "นกปรอดหัวโขน" หรือ "นกปรอดหัวจุก"4.ชื่อเรียกในทางภาคใต้ว่า "นกกรงหัวจุก"5.ชื่อเรียกเป็นภาษามาลายูท้องถิ่นว่า "บุรงวอเบาะยาโม" ของชาวมุสลิม6.ชื่อเรียกที่เป็นทีรู้จักกันทุกภาคว่า "นกกรงหัวจุก"

วงศ์นกปรอดมีหลายชนิด

     บ้างก็เรียกว่า ปรอดหัวโขนแก้มแดง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Red whiskered Bulbul ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus Jocosus ได้ชื่อตามลักษณะของตัวนกเอง เป็นต้นว่า หัวโขน หมายถึง บนหัวมีขนยาวเป็นจุก เหมือนการสวมหัวโขนเอาไว้ ส่วนที่ว่าเคราแดงไม่น่าจะถูกต้อง จริงๆแล้วส่วนที่เป็นสีแดงจะอยู่ใต้ดวงตา นิยมเรียกว่า หูแดง หรือ แก้มแดง นกชนิดนี้มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นอยู่มากกมาย เช่น ภาคใต้ เรียกว่า นกกรงหัวจุก ภาคเหนือเรียกว่า นกปริ๊ดจะหลิว หรือพิชหลิว ส่วนภาคกลางเรียกว่า นกปรอดหัวจุกหรือนกหรอดหัวโขน เป็นนกที่น่าดู ใครๆก็ชอบ อาศัยอยู่ตามป่าไร่
     บ้างก็เรียกนกปรอดหัวโขนก้นเหลือง มีชื่อภาษากังกฤษว่า Brown-breasted Bulbul ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus xanthorrhous มีแถบสีน้ำตาลที่อก ซึ่งตัดกับสีขาวของลำคอ อกส่วนล่างและท้องออกขาว ใต้หางสีเหลือง จุกสั้นสีดำ ช่องว่างระหว่างตากับจะงอยปากและหนวดสีดำแกมสีน้ำตาล ชอบอาศัยอยู่ตามสุมทุมพุ่มไม้
     นกปรอดก้นแดงหรือนกปรอดคางแพะ เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า Sooty-headed Bulbul มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus aurigaster จุกสั้นสีดำ หน้ากากสีดำตัดแก้ม แก้มสีขาวเทา ส่วนบนสีน้ำตาลเทา มีแถบขาวบนขนหางด้านบน หลายหางสีขาว ด้านล่างสีขาวเทา ขนใต้หางอาจมีสีแดงหรือสีเหลือง อาศัยตามสวน ในที่เพาะปลูกและป่าโปร่ง
     นกปรอดหน้านวล หรือนกปรอดหน้านวล ก้นเหลือง ขอบตาขาว มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Yellow-vented Bulbul มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus goiavier ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ด้านบนของตัวมีสีน้ำตาลอมเขียว ด้านใต้ท้องมีสีขาวเจือน้ำตาลอ่อนเล็กน้อย ระหว่างตาและโคนปากมีสีดำ เหนือตามีแถบกว้างสีขาวคล้ายคิ้ว ขนคลุมใต้โคนหางมีสีเหลือง อยู่ตามแหล่งเพาะปลูก ตามสวนมะพร้าวที่อยู่ติดทะเล
     มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Streak-eared Bulbul มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus Blanfordi คล้ายกัยนกปรอดสีไพรใหญ่ แต่มีสีซีดกว่า แบะมีสีน้ำตาลเจือมากกว่า ขนคลุมใต้โคนหางเป็นสีเหลืองมากกว่าปรอดสีไพรใหญ่ และขนคลุมหูมีลายขาวเป็นแถบๆ อยู่ตามพื้นทีเพาะปลูก ตามสวนพบทั่วไปในที่ลุ่ม
     มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Black-headed Bulbul มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus Atriceps ตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน ถัดเข้ามามีแถบเล็กๆ สีน้ำตาล นัยน์ตาสีฟ้า มีอยู่ในทุกภาคของประเทศไทย ชอบอยู่ตามชายป่า
    ชื่อสามัญ Black-crested Bulbul ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus melanicterus

          สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม 2546

1. นกปรอดหัวโขนเคราแดง
2. นกปรอดก้นเหลือง
3. นกปรอดก้นแดง
4. นกปรอดหน้านวลก้นเหลือง
5. นกปรอดสวน
6. นกปรอดทอง
7. นกปรอดเหลืองหัวจุก
ที่มา :  คู่มือนกกรงหัวจุก โดย เอกชัย พฤกษ์อำไพ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดปัตตานี 

ประวัตินกกรงหัวจุก


นกกรงหัวจุก มีชื่อเรียก เป็นทางการว่า "นกปรอดหัวโขนเคราแดง" หรือ "นกพิชหลิว" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus jocosus เป็นสัตว์คุ้มครองประเภทนก ที่เพาะพันธุ์ได้


นก วงศ์นี้มีถิ่นอาศัย อยู่แถบเอเชีย ในกลุ่มประเทศ ที่มีอุณหภูมิร้อนชื้นสูง เช่น จีน อินเดีย อินโดฯ สิงคโปร์ ลาว กัมพูชา และไทย พบเห็นได้ทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะนกปรอดหัวโขนเคราแดง นก กรงหัวจุกนั้น ทางภาคใต้นิยมเลี้ยงกันมานานแล้ว และสืบทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน จนเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านทางภาคใต้ ก็ว่าได้เหตุนี้เอง เมื่อครั้งที่ผู้เขียนเดินทางไปที่ จ.ยะลา จึงเห็นมีกรงนกหัวจุกแขวนตามบ้านเรือนประชาชนแทบทุกบ้าน บ้างก็หิ้วขึ้นจักรยานไปด้วย บ้างหิ้วไปกินกาแฟ แบกกันไปทั้งกรงอย่างนั้นแหละ สอบถามชาวบ้านได้ความว่า เพื่อให้นกเคยชินกับคน ไม่ตื่นกลัว


http://www.noksiam.com/